WELCOME TO MY PAGE

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์3


เครือข่ายเฉพาะบริเวณ  (Local  Area  Network  :  LAN)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เป็นของกลุ่มผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ  กลุ่มหนึ่ง  ปกติจะเป็นเครือข่ายที่มีขอบเขตอยู่ภายในอาคารเดียวกัน  หรือกลุ่มอาคารที่อยู่ติดกัน  มีระยะไม่เกิน  2-3  กิโลเมตร  เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของพนักงานในองค์กรเข้าด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  การใช้อุปกรณ์ส่วนกลางร่วมกัน  การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน  และการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน  เครือข่าย  LAN  มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ  3  ประการ  คือ  ขนาด,  เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล  และรูปแบบการจัดโครงสร้างของระบบ  

เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)

           เครือข่ายในเขตเมือง  (Metropolitan  Area  Network :  MAN)  มีลักษณะคล้ายกับระบบเครือข่าย  LAN  เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น  ระบบนี้อาจจะเชื่อมต่อการสื่อสารของสาขาหลายๆ  แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกัน  หรืออาจครอบคลุมหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน  โดยระบบนี้มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งการรับ-ส่งข้อมูลและโทรศัพท์ไปพร้อมกันได้  ในปัจจุบันยังครอบคลุมไปถึงระบบโทรทัศน์ทางสาย  (Cable  television)  ด้วย  ระบบนี้จะมีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้น  โดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  element)  ทำหน้าที่คอยกักเก็บสัญญาณไว้ภายในหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น
เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)

            เครือข่ายวงกว้าง  (Wide  Area  Network  :  WAN)  ระบบเครือข่ายแบบนี้เป็นการขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมไปเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค  ระบบนี้ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า  โฮสต์คอมพิวเตอร์  (Host  Computer)  ทำหน้าที่คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งหมดที่เป็นสมาชิกในกลุ่มตนเอง  โดยโฮสต์คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายย่อย     ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างโฮสต์ต่างๆ  หลักการ                ระบบเครือข่ายย่อยในเครือข่าย  WAN ประกอบด้วยอุปกรณ์สองอย่าง  คือ  สายสื่อสาร  (Transmission  line)  และอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  elements)
เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย เคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส  มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

เครือข่ายแบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน  การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรง ตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอน อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง

เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)  เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่าย แบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น