WELCOME TO MY PAGE

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์2


ส่วนที่1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง      มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวนผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่ หน่วยความจำ (Memory)จำแนกออกเป็น  ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)   
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล  และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่ สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ อย่าง คือ
1.ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลักแบ่งได้ 2  ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ แรม (RAM)และหน่วยความจำแบบรอม”(ROM)
 1.หน่วยความจำแบบ แรม   (RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
1.2 หน่วยความจำแบบ รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit) เป็นหน่วย เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรองหน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บใน ความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทาง ไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ 

ส่วนแสดงผลข้อมูลส่วนแสดงผลข้อมูล   คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง ให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ (Monitor)
เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter
และ ลำโพง (Speaker)  เป็นต้น                          
         
 บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้ การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ
หน่วยงานคอมพิวเตอร์ ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ 

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)                             
    -  นักวิเคราะห์ระบบงาน  ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่  โปรแกรมเมอร์  นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม                
    -  วิศวกรระบบ   ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ  พนักงานปฏิบัติการ    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์  เป็นระดับต่างๆได้ ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)  คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)  คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)  คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)  คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการงานที่มอบหมายให้ทำ (Assignment)

2. หน่วยความจำสำรองหน่วยความจำชนิดนี้มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานกับข้อมูลและโปรแกรมขนาดใหญ่เนื่องจากขนาดของหน่วยความจำหลักมีจำกัด หน่วยความจำสำรองสามารถเก็บไว้ได้หลายแบบ เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) แผ่นซีดีรอม (CD-ROM)จานแสงแม่เหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น